Group Link

Blogger  RSS กูเกิล+ Pinterest instagram Twitter เฟซบุ๊ค E-MAIL wordpress

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เปิดศึกห้างสรรพสินค้า ตอนที่ 1


1. เจาะเพลงยุทธ์ ìเซ็นทรัลî...ราชันค้าปลีกไทย

     ตระกูล "จิราธิวัฒน์" เริ่มต้นจากธุรกิจค้าปลีกเล็กๆ ย่านฝั่งธนบุรีชื่อ ìเข่ง เส่ง หลีî และย้ายมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุงในชื่อใหม่ว่า "ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง" (ราว พ.ศ. 2460-แปลว่า "ที่เป็นใจกลาง/ศูนย์กลางของสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่สุด")

     ปัจจุบัน เซ็นทรัล มีถึง 18 สาขา (รอเปิดเพิ่มในปี 2555-2556 อีก 5 สาขา ในต่างจังหวัด) ครอบคลุมพื้นที่สำคัญทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยวต่างๆ โดยตั้งเป้าขายปี 2555 ไว้ที่ 230,000 ล้านบาท! (รวมรายได้จากห้าง La Rinascente (อิตาลี-ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัล เข้า take over เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554) และยอดขายจาก Big C และ Carrefour) และกำลังวางแผนขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่น เฉินตู (จีน) อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และพม่า เป็นต้น

     แน่นอนว่า อาณาจักรของเซ็นทรัล ซึ่งเติบโตอย่างมั่นคง แข็งแกร่ง โดยไม่เคยซวนเซไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจ ขาขึ้นหรือขาลง ย่อมเกิดจากวิสัยทัศน์และความสามารถ น่าถือเป็นกรณีศึกษาพอสังเขปดังนี้

     (1) จุดเด่น หรือจะเรียกว่าจุดขายก็คือ การเป็นผู้นำแฟชั่นที่มีคุณภาพ และคัดสรรเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า จนได้รับรางวัล GIA Award และ "Best of the Best" จาก Retail Asia Magazine ในแง่การบริหารงานแม้จะใช้ระบบ "กงสี" คือ ผลักดันลูกหลานของตระกูลขึ้นบริหารบริษัทในเครือต่างๆ แต่บุคลากรเหล่านี้ล้วนเป็นคนหนุ่มสาวที่มีความรู้ความสามารถแบบมืออาชีพ ผนวกกับการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สะดวกและทันสมัย ความเข้าใจถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยยอมลงทุนพัฒนาระบบ Customer 

     Relationship Management (CRM) การฝึกอบรมพนักงานและดูงานในต่างประเทศอยู่เสมอ การคัดเลือกสินค้า ระบบการตลาด และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่โดดเด่น ฯลฯ จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมชื่อของ "เซ็นทรัล" จึงติดหู ติดตา และติด (อยู่ใน) ใจ ของผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเช่นนี้!

     (2) ศูนย์การค้า เซ็นทรัล เวิลด์ โครงการลงทุน 26,000 ล้านบาท ในปี 2551 มีพื้นที่ 830,000 ตารางเมตร แยกเป็นช็อปปิ้งคอมเพล็กซ์ 550,000 ตารางเมตร ถือเป็นโครงการศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดของไทย!

     จุดเด่นของ "เซ็นทรัล เวิลด์" ก็คือ มีพื้นที่ค้าปลีกใหญ่ที่สุด มีศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ที่สุด มีซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่กว่าแห่งอื่นถึง 3 เท่า โดยมีลูกค้าประมาณ 150,000 ราย ต่อวัน โดย 50,000 คน จะเป็นนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น

     ในมุมธุรกิจ ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่สูงถึง 26,000 ล้านบาท คิดเฉลี่ยเป็นค่าเสื่อมราคาต่อปี (ทั้งอาคารและส่วนตกแต่ง) ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี บวกกับรายจ่ายในการขายและบริหาร เทียบกับรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ระยะยาว/ค่าเช่ารายปี และเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งจากการขาย ฯลฯ ย่อมมีโอกาสขาดทุนในช่วงเริ่มแรก (รวมถึงผลขาดทุน และการลงทุนซ่อมแซมจากการถูกไฟไหม้ในเหตุการณ์การเมือง ปี 2553) ซึ่งกฎหมายภาษียอมให้นำขาดทุนสะสมดังกล่าวยกไปหักเป็นรายจ่ายได้เพียงไม่เกิน 5 ปี (ม.65 ตรี (12)) ดังนั้น จึงต้องวางแผนภาษีในประเด็นรายได้/รายจ่ายดังกล่าวให้เหมาะสม!

     (3) ธุรกิจ Specialty Store เป็นการเจาะกำลังซื้อเป็นรายเซ็กเมนต์ โดยการแตกธุรกิจออกเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ท็อปส์ 

     ซูเปอร์มาร์เก็ต เพาเวอร์บาย (อุปกรณ์ไฟฟ้า) B2S (เครื่องเขียน) ออฟฟิศ ดีโป (เครื่องใช้สำนักงาน) โฮมเวิร์ก (อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน) เซ็นทรัลออนไลน์ (ช็อปปิ้งผ่านอินเตอร์เน็ต) ซึ่งครอบคลุมของใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันครบเซต ในเชิงธุรกิจ การแตกบริษัทในเครือแยกย่อยออกไปมากมายเช่นนี้ มีข้อดีที่ทำให้การบริหารงานคล่องตัว มี ประสิทธิภาพ และคุณภาพในเชิงบริหาร และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วนเต็มที่ แต่อาจมีข้อแย้ง (จุดอ่อน) ในแง่การบริหารภาษีอากรหลายประการ เช่น กรณีมีรายการค้าระหว่างกันของบริษัทในเครือ เช่น ยืมสินค้า การใช้พื้นที่ร่วมกัน การปันส่วนรายจ่าย การมีโปรแกรมส่งเสริมการขายร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน การกู้ยืม เงินทุนหมุนเวียนกัน เป็นต้นนั้น ล้วนเป็นประเด็นภาษี (tax issues) ที่อาจต้องถูกประเมินรายรับหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคาตลาด (ม.65 ทวิ (4)) และอาจมีประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เกิดขึ้นได้เป็นต้น นอกจากนั้น กรณีที่กิจการใดเกิดผลขาดทุน (taxable losses) ก็ไม่อาจนำไปหักกลบกับบริษัทที่มีกำไร จึงอาจต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าที่ควรจะเป็น!

     (4) เซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งแบ่งการบริหารออกเป็น 5 กลุ่มธุรกิจหลักคือ ธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่ง โรงแรม และภัตตาคารนั้น จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และเกื้อหนุนกัน เข้าทำนอง ìห้าเสือพลังช้างเอราวัณî ซึ่งขอยกเป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้

     (4.1) เซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่งเพิ่งได้รับการต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ 30 ปี จากที่ดินเดิมซึ่งเป็นกองขยะไม่มีราคา ค่างวดใดๆ ครั้นพอปักป้ายว่าจะก่อสร้างเป็นโรงแรมและศูนย์การค้า+พลาซ่า ก็สามารถเพิ่มมูลค่า (value added) แก่ที่ดินข้างเคียงทันที ซึ่งหาก (สมมติว่า) มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ ก็ย่อมสามารถขึ้นโครงการบ้านจัดสรร/คอนโดฯ/อาคารพาณิชย์ สร้างกำไรมหาศาล โดยกำไรสุทธิหลังภาษี (earning after tax) อาจสูงท่วมมูลค่าเบื้องต้นของที่ดินทั้งผืน ทำให้เสมือนได้ที่ดินในส่วนของโครงการศูนย์การค้า/พลาซ่า/โรงแรม มาฟรีๆ ด้วยซ้ำ! รายได้หลักอีกส่วนหนึ่งก็คือ รายได้ค่าเช่าระยะยาว ก็คือ ค่าแป๊ะเจี๊ยะจากการเซ้งพื้นที่ในส่วนของพลาซ่า ซึ่งสามารถกระจายการรับรู้รายได้ตามอายุสัญญาเช่าถึง 30 ปี (ป.73/2541 ข้อ 2(1) (ก)) ทำให้ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวนมหาศาล ซึ่งถ้าจินตนาการต่อไปถึงขั้นการนำบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และโรงแรม เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็ยังมีแง่มุมให้วางแผนภาษีอีกหลายส่วน อาทิ พ.ร.ฎ. #467 (พ.ศ. 2550), พ.ร.ฎ.#474, 475 (พ.ศ. 2551), พ.ร.ฎ.# 531 (พ.ศ. 2554) ได้ให้สิทธิการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือเพียง 25% (ในช่วงปี 2551-2554 ตามลำดับ) ส่วนเงินปันผลที่ได้รับก็ยังมีโอกาสยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (10) และ 47 ทวิ เป็นต้น!

     (4.2) ธุรกิจโรงแรม อาหาร และบันเทิง แม้ว่าบุคลากรในครอบครัวของเซ็นทรัล จะมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง แต่การรบรุกในวงการนี้จำเป็นต้องว่าจ้างหรืออิง franchise chain จากต่างประเทศ เพื่อผลด้านการตลาดสำหรับลูกค้าคนไทย และต่างชาติ เช่น โรงแรมดัง "พาร์คไฮแอท" ในโครงการ "เซ็นทรัล เอ็มบาสซี" (ซึ่งจะเปิดในไตรมาส 4 ปี 2556) และแบรนด์อาหารชั้นนำ อาทิ Beard Papa, Auntie Anneís, Mister Donut, ชาบูตง เป็นต้น

     รูปแบบในการร่วมธุรกิจกับต่างชาติ ทำได้หลายลักษณะ เช่น ว่าจ้างบริหาร/ร่วมทุน/จ่ายค่า franchise เป็นต้น ซึ่งแต่ละกรณีจะมีภาระภาษีแตกต่างกัน เช่น การจ่ายค่าจ้าง/ค่าสิทธิ อาจต้องออกภาษี ณ ที่จ่าย แทนบริษัทต่างประเทศ ส่วนกรณี จ่ายเงินปันผลจะมีอัตราภาษี ณ ที่จ่าย ต่ำเพียง 10% เป็นต้น ขณะนี้ (ปี 2555) กลุ่มเซ็นทรัล มีโครงการลงทุนขนาดยักษ์หลายโครงการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 30,000 ล้านบาท อาทิ โครงการ ìเซ็นทรัล เอ็มบาสซีî (เพลินจิตซิตี้-เนื้อที่ 9 ไร่ ของสถานทูตอังกฤษ (เดิม), โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล (เฉินตู-จีน) เป็นต้น นั้นการเลือกแหล่งเงินทุน (source of fund) ย่อมมีผลต่อการบริหารเงิน และบริหารภาษี เช่น ยืมจากสถาบันการเงิน แม้ดอกเบี้ยจ่ายจะเป็นภาระทางการเงินที่กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน แต่สามารถหักเป็นรายจ่ายและลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ซึ่งจะแตกต่างจากการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพราะเงินปันผลมิใช่ taxable expenses

     (4.3) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) โดยมีบริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (27%) โดย CPN ใช้วิธีระดมทุนผ่านกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ "CPN รีเทลโกรท" (CPNRF) โดยมีมูลค่าการตลาด (market capitalization) ณ กุมภาพันธ์ 2555 ประมาณ 90,000 ล้านบาท (ROBINS 48,000 ล้านบาท และ CENTEL 15,000 ล้านบาท) จึงอาจกล่าวได้ว่า CPN และ ROBINS ต่างก็เป็น ìเรือธงî (flagship) ของธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจห้างสรรพสินค้าตามลำดับ

     กล่าวในมุมภาษีอากร การที่ Central Group และ CPN มีรายการค้าระหว่างกันทั้งในแง่ลูกหนี้/เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืม เงินลงทุน กรณีย่อมเกิดประเด็นภาษี (tax issues) ตามมาหลายประการ อาทิ การไม่คิดค่าบริการ หรือมีรายการค้าที่ไม่เป็นไปตามราคาตลาด (มาตรา 65 ทวิ (4)) เป็นต้น นอกจากนั้น การให้ CPN (บริษัทจดทะเบียนฯ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (เกิน 25%) ในบริษัทในเครือ ทำให้เงินปันผลของ CPN ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร อนึ่ง การบริหารรายการค้าระหว่างกัน ดังกล่าว อาทิ ในแง่การบริหารการเงิน (source and use of fund) อันได้แก่ เงินสด เงินกู้ยืม การจ่ายเงินปันผล กำไรสะสม การให้บริการระหว่างกัน เป็นต้น หากมีการวางแผนภาษีให้เหมาะสมย่อมสามารถประหยัดภาษีอากรลงมาได้ทั้งภาษีในระดับบริษัท และในระดับผู้ถือหุ้น (shareholders)

     (5) การขยายลงทุนในต่างประเทศ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 CPN ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้เข้าซื้อหุ้นสามัญ 9,994 หุ้น (จากทุนจดทะเบียน 10,000 หุ้น) จากบริษัท ซีพีเอ็นโกลบอล จำกัด เพื่อรองรับการขยายกิจการในต่างประเทศ ในระหว่างปี 2553 CPN Global ได้จัดตั้งบริษัทในฮ่องกง 2 บริษัท และประเทศจีน 1 บริษัท การที่บริษัทในไทยมีสัดส่วนการถือหุ้น ในต่างประเทศ เกิน 25% กรณีย่อมได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินปันผลตาม พ.ร.ฎ.#442 และเมื่อ CPN Global จ่ายเงินปันผลแก่ CPN กรณีก็ได้รับการยกเว้นภาษีเงินปันผล ตามมาตรา 65 ทวิ (10) อีกทอดหนึ่ง (อนึ่ง ตามกฎหมายภาษีของฮ่องกง ไม่มีการจัดเก็บภาษีจากเงินได้ทางอ้อม (passive incomes) เช่น เงินปันผล (capital gains) เป็นต้น)


ที่มา : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์
หมอภาษี
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น